ชุมชนชาวพุทธที่อาศัยอยู่ในชุมชน วัดพุทธมินนิโซตา ซึ่งเป็นวัดพุทธเก่าแก่ที่สวยงาม ตั้งอยู่บนพื้นที่การเกษตรของรัฐมินนิโซตา คิดหาวิธีเชื่อมความศรัทธา และวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ให้แก่คนรุ่นต่อๆ ไป โดยประสานวิชานาฏศิลป์เข้ากับความศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา
ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยผู้ลี้ภัยที่หลบหนีจากระบบการปกครองของเขมรแดง ที่พยายามกำจัดสถาบันทางศาสนาในสมัยนั้น วัดมุนิโสภารามและคณะหวังว่าการสอนเด็ก ๆ เกี่ยวกับการรำอันศักดิ์สิทธิ์ จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของพวกเขากับทั้งศาสนาพุทธ และประเพณีของกัมพูชา
ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๒๒ เขมรแดงทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ ๑.๗ ล้านคนในกัมพูชา หลายแสนคนหลบหนี ไปยังต่างประเทศ โดยเริ่มจากประเทศเพื่อนอย่างประเทศไทย และเดินทางต่อไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในชุมชนผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุด
พวกเขานำประเพณีการร่ายรำอันศักดิ์สิทธิ์นี้ติดตัวไปด้วย ในเย็นวันที่หนาวเหน็บของต้นเดือนกุมภาพันธ์ จึงมีการซ้อมรำสำหรับวันหยุดปีใหม่ของกัมพูชาที่กำลังจะมาถึงกับหัวหน้าคณะ Garrett Sour และน้องสาวของเขา Gabriella ซึ่งพ่อแม่ของพวกเขาอยู่ท่ามกลางผู้ลี้ภัยเหล่านั้น
การฝึกฝนเคยจัดขึ้นที่วัด ในทุ่งที่ปกคลุมด้วยหิมะ ห่างจาก Twin Cities ประมาณ ๔๘ กิโลเมตรทางใต้ แต่เพิ่งย้ายไปที่สตูดิโอมินนิอาโปลิส เพื่อให้ครอบครัวมีส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น
แม้ว่าการรับสมัครจะเป็นแบบปากต่อปาก การลงทะเบียนในฤดูหนาวก็ยังมีผู้คนสนใจเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังจากโพสต์บนหน้า Facebook ของวัด
ชุดรำใช้เสื้อและกางเกง (ห่มโจงกระเบน) ผ้าไหมเนื้อหนาแบบดั้งเดิมจากประเทศกัมพูชา ผู้ร่ายรำยืดและงอทุกส่วนของร่างกายอย่างเคร่งขรึม อ่อนช้อยงดงาม การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งช่วยบอกเล่าเรื่องราวโบราณเกี่ยวกับเทพเจ้า วัฏจักรของชีวิต และเรื่องราวทางจิตวิญญาณอื่นๆ ที่ผสมผสานองค์ประกอบของศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู และความเชื่อเรื่องผี
“เราไม่เคยเป็นตัวของตัวเอง เราเป็นแค่รูปลักษณ์ภายนอกของจิตวิญญาณที่สูงส่ง” Garrett Sour วัย 20 ปีกล่าว ขณะที่เขาฝึกท่าอย่างพิถีพิถัน โดยกระตุ้นให้ก้าวเล็กลงที่นี่ เอียงน่องให้ลึกขึ้น “การเต้นรำไม่ได้ถูกมองว่าเป็นความบันเทิง แต่เป็นสื่อกลางระหว่างสวรรค์และโลก”
*อ้างอิงข่าวจาก AP News
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น